นโยบายแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย

ของ บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

หลักการและเหตุผล

บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด(มหาชน) (“บริษัท”) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการต่อต้านการคอร์รัปชันและการติดสินบน และมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม ภายใต้กรอบการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยยึดหลักธรรมาภิบาล จรรยาบรรณ และจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย รวมถึงดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และสามารถตรวจสอบได้

เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีนโยบายเกี่ยวกับการกำหนดความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการคอร์รัปชันในทุกกิจกรรมทางธุรกิจและเพื่อให้การตัดสินใจและการดำเนินการทางธุรกิจที่อาจมีความเสี่ยงด้านการคอร์รัปชันได้รับการพิจารณาและปฏิบัติอย่างรอบคอบ บริษัทจึงได้จัดทำ "นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันและสินบน" เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ และพัฒนาสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน

คำนิยาม

“การคอร์รัปชัน” (Corruption) หมายถึง การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ที่มิควรได้การให้หรือรับสินบน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด ๆ โดยการเสนอให้ สัญญา ให้คำมั่น เรียกร้อง ให้หรือรับซึ่งเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ไม่ถูกต้องแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน หรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวกระทำหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือเพื่อให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ไม่ถูกต้อง

“สินบน” หมายถึง การกระทำในรูปแบบใดๆ ที่เป็น การเสนอ การให้สัญญา การมอบให้ การยอมรับ การเรียกร้องที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในรูปแบบใดๆ ในลักษณะที่เป็นการจูงใจให้มีการปฏิบัติใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อหน้าที่รับผิดชอบ

“ผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ” หมายถึง ของขวัญ บริการ เงินสด หรือรูปแบบอื่นๆ ที่อาจให้โดยตรง หรือผ่านบุคคลอื่น หรือเพื่อบุคคลอื่นด้วย

“การบริจาคเพื่อการกุศล” (Charity) หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินโดยไม่มีผลตอบแทนที่มีตัวตน

“การบริจาคเพื่อการสาธารณประโยชน์” หมายถึง การใช้จ่ายเงินเพื่อโครงการ กิจกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ ชุมชน สังคม กลุ่มประชาชน โดยบริษัทอาจไม่ได้รับผลตอบแทนที่มีตัวตน

“การให้ความช่วยเหลือทางการเมือง” (Political Contributions) หมายถึง การช่วยเหลือในนามบริษัทไม่ว่าจะ เป็นทางด้านการเงินหรือรูปแบบอื่น เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง การช่วยเหลือด้านการเงิน สามารถรวมถึงการให้ กู้เงิน ส่วนการช่วยเหลือในรูปแบบอื่น เช่น การให้สิ่งของหรือบริการ การโฆษณาส่งเสริมหรือสนับสนุนพรรคการเมือง การ ซื้อบัตรเข้าชมงานที่จัดเพื่อระดมทุนหรือบริจาคเงินให้แก่องค์กรที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคการเมือง เป็นต้น ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยที่สามารถทําได้ตามที่กฎหมายกําหนด

“เงินสนับสนุน” (Sponsorships) หมายถึง เงินที่จ่ายสําหรับการบริการหรือผลประโยชน์ที่ยากต่อการวัดผลและ ติดตาม ซึ่งอาจถูกเชื่อมโยงไปเกี่ยวข้องกับการให้สินบน เช่น เงินสนับสนุนอาจมีจุดประสงค์แอบแฝง โดยใช้การกีฬาเพื่อ กุศลหรือองค์กรการกุศลเป็นสิ่งบังหน้าเพื่อก่อให้เกิดความได้เปรียบในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง (ตัวอย่างความได้เปรียบในการพิจารณา ได้แก่ การให้สัญญา โอกาสทางธุรกิจหรือการประมูล การลดหรือยกเลิก ค่าธรรมเนียม การให้ ช่วยเหลือ หรือยกเลิกข้อกําหนดที่จะต้องมีใบอนุญาตต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้องตรงตามกระบวนการ ตัดสินใจปกติของราชการ การยกเลิกหรือลดข้อกําหนดทางกฎหมาย หรือการให้หรือช่วยเหลือในการเข้าถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐ)

“ค่าอํานวยความสะดวก” หมายถึง ค่าใช้จ่ายจํานวนเล็กน้อยที่จ่ายแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างไม่เป็นทางการ และ เป็นการให้เพียงเพื่อให้มั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะดําเนินการตามกระบวนการหรือเป็นการกระตุ้นให้ดําเนินการรวดเร็วขึ้น โดยกระบวนการนั้นไม่ต้องอาศัยดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐและเป็นการกระทําอันชอบด้วยหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ นั้น รวมทั้งเป็นสิทธิที่นิติบุคคลพึงจะได้ตามกฎหมายอยู่แล้ว เช่น การขอใบอนุญาต การขอหนังสือรับรองและการได้รับ การบริการสาธารณะ เป็นต้น

“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายถึง เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามความหมายที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต และให้รวมถึง ข้าราชการ เจ้าพนักงาน พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้าง ตัวแทน หรือบุคคลอื่นใดที่เป็น ตัวแทนของหน่วยงานดังต่อไปนี้

กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ (เช่น กรมศุลกากร สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ฯลฯ) องค์กรระหว่างประเทศ (เช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ฯลฯ) พรรคการเมือง ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง หรือผู้สมัครรับ เลือกตั้ง (ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน) ผู้บริหารท้องถิ่น หน่วยงานที่มีอํานาจกํากับดูแล (เช่น คณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น) รัฐวิสาหกิจ หรือ บริษัท หรือ องค์กรอื่น ๆ ที่รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของหรือมีอํานาจควบคุม

1. นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันและสินบน

1.1 กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทต้องไม่ดําเนินการ หรือยอมรับการคอร์รัปชันและสินบน ในทุกรูปแบบ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อประโยชน์ต่อองค์กร ตนเอง ครอบครัว เพื่อนและคนรู้จัก หรือเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ โดย ครอบคลุมถึงทุกธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของบริษัท

1.2 บริษัทจะต้องมีการสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันและสินบนนี้อย่างสม่ําเสมอ ตลอดจน ทบทวนแนวทางปฏิบัติ และข้อกําหนดในการดําเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกําหนดของกฎหมาย ทั้งนี้ หากมีการฝ่าฝืนกระทําการใด ๆ อันเป็นการสนับสนุนช่วยเหลือ หรือร่วมมือคอร์รัปชัน และสินบนจะได้รับการพิจารณาโทษตามระเบียบของบริษัท

2. มาตรการต่อต้านคอร์รัปชันและสินบน (“มาตรการ”)

บริษัทมุ่งมั่นที่จะนํามาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อต่อต้านคอร์รัปชันและสินบนไปใช้ โดยมาตรการนี้จะต้องได้รับ การอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทและสื่อสารให้แก่กรรมการและพนักงานทุกคน ตลอดจนบุคคลภายนอกทราบอย่าง เพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมไม่ยอมรับการคอร์รัปชันและสินบนโดยเด็ดขาด โดยมาตรการนี้ได้ระบุอย่างชัดเจนถึง สม่ําเสมอ ค่านิยม นโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่นํามาใช้เพื่อป้องกันการคอร์รัปชันและสินบนที่อาจเกิดขึ้นในการดําเนินงาน ทางธุรกิจและการทําธุรกรรมที่อยู่ในการควบคุมดูแลของบริษัท

2.1 โครงสร้างองค์กรและหน้าที่ความรับผิดชอบ

บทบาทและความรับผิดชอบในการดําเนินการตามมาตรการเป็น ดังนี้

คณะกรรมการบริษัท

อนุมัติและปฏิบัติการตามนโยบายนี้ รวมถึงกํากับดูแลให้มีระบบการควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันกระบวนการทางธุรกิจของบริษัทจากการคอร์รัปชันและสินบน และจัดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านการคอร์รัปชันและสินบนโดยให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการที่ต้องมีการติดตามดูแลเป็นระยะๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

คณะกรรมการบริหาร

ต้องมุ่งมั่นในการดําเนินการและส่งเสริมการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันและสินบนนี้ รวมถึงพิจารณา ทบทวนและนําเสนอการปรับปรุงนโยบายนี้ต่อคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการตรวจสอบ

เป็นตัวแทนของคณะกรรมการบริษัทที่ต้องติดตามดูแลเพื่อให้มีระบบการควบคุมภายในที่ป้องกันความเสี่ยงด้าน การคอร์รัปชันและสินบนอย่างเพียงพอ และรายงานผลการปฏิบัติต่อคณะกรรมการบริษัท พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อ ปรับปรุงนโยบายและมาตรการต่อต้านคอร์รัปชันและสินบน

ฝ่ายกํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ

ดําเนินการให้มาตรการต่อต้านคอร์รัปชันและสินบนนี้บรรลุผล รวมทั้งทบทวนและปรับปรุงนโยบายต่อต้าน คอร์รัปชันและสินบนให้สอดคล้องกับข้อกําหนดของกฎหมาย สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมในการ ต่อต้านคอร์รัปชันและสินบนขององค์กร และจัดให้มีแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจต่อกรรมการและพนักงานทุกระดับอย่างเหมาะสม รวมถึงการผลักดันให้มีการสื่อความเรื่องดังกล่าว

ฝ่ายตรวจสอบกิจการภายใน

จัดให้มีการติดตามการปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการฉบับนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่ ป้องกันความเสี่ยงด้านการคอร์รัปชันและสินบน นอกจากนี้จะต้องมีการเก็บ รวบรวมสถิติข้อมูลเบาะแส และรายงานผล การดําเนินงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี

กรรมการและพนักงานทุกระดับ

ปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้ รวมถึงระเบียบปฏิบัติของบริษัท ข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ยิ่งกว่านั้น คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงจะต้องปฏิบัติเป็นแบบอย่างแก่พนักงานในการต่อต้านคอร์รัปชันและสินบนตามนโยบายนี้ด้วย

3. ขอบเขตและแนวทางปฏิบัติ

นโยบายฉบับนี้ มีผลบังคับใช้กับบริษัท รวมถึงกรรมการและพนักงานทุกคน และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบริษัททั้งหมด โดย ให้คณะกรรมการในแต่ละกิจการนําไปพิจารณาอนุมัติและ ประกาศใช้ตามขั้นตอนที่กําหนด นอกจากนั้น ให้นําไปใช้กับ ตัวแทนทางธุรกิจ ผู้ร่วมธุรกิจ คู่ค้า ผู้ผลิตสินค้าและบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินธุรกิจของบริษัทเท่าที่จะสามารถ ดําเนินการได้ตามความเหมาะสม ดังนี้

4. เรื่องที่รับแจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนการทุจริตคอร์รัปชัน

4.1 พบเห็นการกระทําทุจริตคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับองค์กรโดยทางตรงหรือทางอ้อม เช่น พบเห็นบุคคลในองค์กรติด สินบนหรือรับสินบน เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐบาล หรือหน่วยงานเอกชน

4.2 พบเห็นการกระทําที่ผิดขั้นตอนตามระเบียบปฏิบัติของบริษัท หรือมีผลต่อระบบการควบคุมภายในของบริษัทจนทําให้สงสัยได้ว่าอาจจะเป็นช่องทางในการทุจริตคอร์รัปชัน

4.3 พบเห็นการกระทําที่ทําให้บริษัทเสียผลประโยชน์ และกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัท

4.4 พบเห็นการกระทําที่ผิดกฎหมาย กฎระเบียบ หรือข้อพึงปฏิบัติทางธุรกิจและหลักจรรยาบรรณในการดําเนินธุรกิจของบริษัท

5. ช่องทางการรับแจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนการทุจริตคอร์รัปชัน

คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้พิจารณารับเรื่องแจ้งเบาะแส และข้อร้องเรียนการ กระทําที่อาจเป็นการทุจริตคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นกับบริษัทโดยทั้งทางตรงหรือทางอ้อม โดยผ่านช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ที่ได้กําหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ โดยผู้ร้องเรียนจะต้องระบุรายละเอียดของเรื่องที่จะแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน โดยจะ ระบุชื่อ ที่อยู่ หรือสถานที่ติดต่อหรือไม่ก็ได้ ส่งมายังช่องทางรับเรื่องดังนี้

  1. แจ้งผ่านช่องทางการส่งไปรษณีย์ไปยังประธานคณะกรรมการตรวจสอบ บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จํากัด (มหาชน) ที่อยู่ 87 อาคารเอ็ม. ไทย ทาวเวอร์ ออล ซีซั่นส์ เพลส ชั้นที่ 15 ห้องเลขที่ 1 และ 4-6 ถนนวิทยุ แขวง ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  2. แจ้งผ่านช่องทางอีเมลของฝ่ายตรวจสอบกิจการภายใน ที่ ia@tsi.co.th หรือ ส่งไปรษณีย์ไปยัง ฝ่ายตรวจสอบ กิจการภายใน บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จํากัด (มหาชน) ที่อยู่ 87 อาคารเอ็ม. ไทย ทาวเวอร์ ออล ซีซั่นส์ ชั้นที่ 15 ห้องเลขที่ 1 และ 4-6 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  3. แจ้งผ่านช่องทางกล่องรับข้อร้องเรียน ติดตั้งภายในสํานักงานในกรณีที่ผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียนมีข้อร้องเรียน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือคณะกรรมการบริหาร บุคคลที่สามารถแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน คือ ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของบริษัท ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่แข่งทางการค้า เจ้าหนี้ ภาครัฐ ชุมชน สังคม ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะแจ้งด้วยวิธีใดดังกล่าวข้างต้น บริษัทจะรักษา ความลับของผู้ร้องเรียนเป็นอย่างดี
  4. แจ้งผ่านเว็บไซต์ บริษัท https://www.tsi.co.th/ เลือกติดต่อคณะกรรมการรวจสอบ

6. มาตรการคุ้มครองและรักษาความลับ

การสนับสนุนและการมีพันธกิจร่วมกันของทั้งกรรมการและพนักงานบริษัททุกคนถือเป็นส่วนสําคัญที่จะนําไปสู่ความสําเร็จของมาตรการต่อต้านคอร์รัปชันและสินบนผ่านการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคล ทั้งด้านการสรรหา การ สื่อความ การประเมินผลการปฏิบัติงาน จัดสรรค่าตอบแทน การยกย่องชมเชยและการเลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่ง

พนักงานจะไม่ถูกลงโทษหรือได้รับผลกระทบใด ๆ จากการปฏิเสธสินบนหรือต่อต้านการใช้อํานาจหน้าที่โดย ทุจริต แม้ว่าการปฏิเสธดังกล่าวจะทําให้มีผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจของบริษัท กรรมการและพนักงานทุกคนจะได้ รับรู้ถึงกรณีการฝ่าฝืนนโยบายนี้จะส่งผลให้ถูกลงโทษ รวมทั้งอาจถูกเลิกจ้าง โดยไม่คํานึงถึงว่า บริษัทอาจจะได้รับผลประโยชน์ใด ๆ จากสินบนหรือการใช้อํานาจหน้าที่โดยทุจริตดังกล่าวก็ตาม

เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้แจ้งเบาะแส ผู้ร้องเรียน หรือผู้ให้ข้อมูลที่กระทําโดยเจตนาสุจริต บริษัทจะปกปิดชื่อ ที่อยู่ หรือข้อมูลใด ๆ ที่สามารถระบุตัวผู้แจ้งเบาะแส ผู้ร้องเรียน หรือผู้ให้ข้อมูลได้ และเก็บรักษาข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแส ผู้ร้องเรียน หรือผู้ให้ข้อมูลไว้เป็นความลับ โดยจํากัดเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดําเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน เท่านั้น ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้

ในกรณีที่มีการร้องเรียน บริษัทจะกําหนดมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส ผู้ร้องเรียน หรือผู้ให้ข้อมูล พยาน และ บุคคลที่ให้ข้อมูลในการสืบสวนหาข้อเท็จจริงไม่ให้ได้รับความเดือดร้อน อันตรายใด ๆ หรือความไม่ชอบธรรม อันเกิดมา จากการแจ้งเบาะแส ร้องเรียน การเป็นพยานหรือการให้ข้อมูลแก่บริษัท หากบริษัทเห็นว่าเรื่องร้องเรียนดังกล่าวมีแนวโน้ม ที่จะเกิดความเดือดร้อนเสียหายหรือความไม่ปลอดภัยต่อผู้ร้องเรียน

ทั้งนี้ ผู้ได้รับข้อมูลจากการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียน มีหน้าที่เก็บรักษาข้อมูล ข้อร้องเรียนและ เอกสารหลักฐานของผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียนไว้เป็นความลับ ห้ามเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามที่กฎหมายกําหนด

7. ขั้นตอนการดําเนินการสืบสวน และบทลงโทษ

  1. เมื่อได้รับการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ หรือบุคคลที่ ได้รับมอบหมายจากประธานคณะกรรมการตรวจสอบ (“ผู้รับข้อร้องเรียน”) จะเป็นผู้ดําเนินการกลั่นกรอง ตรวจสอบ และสืบสวนข้อเท็จจริง
  2. ระหว่างการสืบสวนข้อเท็จจริง ผู้รับข้อร้องเรียนอาจแจ้งผลความคืบหน้าให้ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนได้ทราบเป็นระยะ
  3. ภายหลังจากที่ผู้รับข้อร้องเรียนดําเนินการสืบสวนข้อเท็จจริงแล้วพบว่า ข้อมูลหรือหลักฐานที่มี มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาได้กระทําการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนจริง ผู้ถูกกล่าวหาจะได้รับทราบข้อกล่าวหาและมีสิทธิ พิสูจน์ตนเอง โดยการหาข้อมูลหรือหลักฐานเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่าตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทําอันทุจริตคอร์รัปชันและสินบนตามที่ได้ถูกกล่าวหา
  4. หากผู้รับข้อร้องเรียนพิจารณาข้อมูลหรือหลักฐานที่มีแล้วมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหาได้กระทําการทุจริต คอร์รัปชันจริง ผู้รับข้อร้องเรียนจะเสนอเรื่องพร้อมความเห็นให้คณะกรรมการตรวจสอบภายใน 15 วัน และ รายงานต่อคณะกรรมการบริหาร เพื่อพิจารณาและกําหนดโทษตามที่เห็นสมควร
  5. การทุจริตคอร์รัปชันถือว่าเป็นการกระทําผิดต่อนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันและสินบน และจรรยาบรรณในการ ประกอบธุรกิจ (Code of Conduct) ของบริษัท ผู้ถูกกล่าวหาจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบ ที่บริษัทได้กําหนดไว้ และหากการกระทําทุจริตคอร์รัปชันนั้นผิดกฎหมาย ผู้กระทําผิดอาจจะต้องได้รับโทษทางกฎหมายด้วย ทั้งนี้กรณีการลงโทษทางวินัยตามระเบียบของบริษัท ให้คําตัดสินของประธานเจ้าหน้าที่บริหารถือเป็นอันสิ้นสุด
  6. หากกรรมการบริษัทมีการกระทําความผิดต่อนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันจะต้องได้รับการพิจารณา โทษทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทได้กําหนดไว้และหากการกระทําทุจริตคอร์รัปชันนั้นผิดกฎหมาย ผู้กระทําผิดอาจจะต้องได้รับโทษทางกฎหมายด้วย ทั้งนี้ กรณีการลงโทษทางวินัยตามระเบียบของบริษัทให้คําตัดสินของประธานกรรมการบริษัทถือเป็นอันสิ้นสุด
  7. ในกรณีที่มีการร้องเรียน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คณะกรรมการบริหาร หรือคณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ใน การรับเรื่อง หาข้อมูล และตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับแจ้ง เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อร่วมกัน พิจารณาและกําหนดโทษตามที่เห็นสมควร

8. การเผยแพร่นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันและสินบน

เพื่อให้ทุกคนในองค์กรได้รับทราบนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันและสินบน บริษัทจะดําเนินการดังต่อไปนี้

  1. ติดประกาศนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันและสินบน ภายในบริษัทโดยชัดแจ้ง เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถอ่านได้
  2. เผยแพร่นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันและสินบน ผ่านช่องทางการสื่อสารของบริษัท เช่น เว็บไซต์ของบริษัท อีเมลรายงานประจําปี รายงานการเปิดเผยข้อมูลประจําปี (One Report)
  3. บริษัทจะมีการทบทวนนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันและสินบนอย่างสม่ําเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันและสินบนนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

ปรับปรุงครั้งที่ 01 ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565